วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของ "ร่มบิน"


            ประวัติความเป็นมาของ "ร่มบิน"

           พารามอเตอร์ หรือ ร่มบิน จีนเป็นชาติแรกที่พยายามทำร่มกระโดดลงมาจากหอสูงในราวปลาย คศ.ที่ 15 ลีโอนาร์โดดาวินซี่ ( LEONARDO DA VINCI ) ได้ออกแบบร่มชูชีพทรงปิรามิดขึ้น วัตถุประสงค์ก็เพื่อออกแบบอุปกรณ์ช่วยชีวิตจากอาคารสูงๆ หลังจากนั้นได้มีผู้ประดิษฐ์ร่มชูชีพแบบกลมมีโครงสร้างภายในที่เบาเพื่อช่วยในการเปิดร่มให้กางโดยปล่อยลงจากบัลลูน ในปี คศ. 1785 จีน ปิแอร์ บลังชาร์ด นักบอลลูนชาวฝรั่งเศสได้ออกแบบสร้างร่มชูชีพโดยใช้ผ้าไหมมีโครงสร้างแบบพับได้ได้นำร่มชูชีพแบบกลมมาใช้ในการสังเกตการณ์ของเรือดำน้ำทำกันโดยลากร่มชูชีพพร้อมทหารขึ้นสูงๆ หลังสงครามสงบประชาชนในเยอรมัน และฮอลแลนด์ ได้นำร่มมาลากเล่นบนบกเพื่อความสนุกสนาน ร่มที่ใช้แบบกลมซึ่งควบคุมยากตอนปลาย คศ.1950 บริษัทไพโอเนียร์พาราชู๊ทได้พัฒนาร่มแบบกลมออกมาเป็นรุ่นพาราคอมมานเดอร์ซึ่งสามารถลากได้ดีเหมือนกระโดดลงมา และร่อนได้ไกลกว่าแบบเก่าๆ แถมยังควบคุมได้ง่ายตอนปลายปี 1948 ฟรานซิส เมลวิน โรกัสโล ( FRANCIS MELVIN ROGALLO) ได้คิดประดิษฐ์ปีกอากาศยาน

โดยใช้แรงดันของอากาศรักษารูปทรงของปีกไว้ โดยทำออกมาเป็นว่าวและเครื่องร่อนจำลองเล็กๆและต้นแบบของปีกที่เรียกว่าปีกแบบโรกัลโลได้เป็นต้นแบบของปีกร่มชูชีพ ร่มร่อน ร่มบินทั้งหลายครับ หรือเรียกชื่อปีกอีกอย่างหนึ่งตามหลักการเรียกปีกแบบ แรมแอร์ ( RAM-AIR PARACHUTE )

          ดั้งนั้นถ้าจะยกย่องให้คุณโรกัลโลเป็นบิดาแห่งวงการร่มร่อนก็ได้ถ้าไม่มีเขาป่านนี้เราไม่ได้บินร่มบินก็เป็นได้ครับ ในปี คศ.1970 การเล่นลากร่มแบบแรมแอร์เป็นที่นิยมในประเทศอังกฤษ บางคนกล้าหน่อยก็ปลดเชือกแล้วร่อนลงเป้าหมาย ปัญหาก็คือร่มตกเร็ว เพราะออกแบบมาสำหรับกระโดดลงสู่เป้าหมายให้เร็ว ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่เท้า และได้มีการพัฒนากันมาเรื่อยๆในปี คศ.1983 สตีพ สไนเดอร์ ( STEVE SNYDER ) ได้นำเอาร่มแบบแรมแอร์มาทำร่มบินแบบโกคาร์ทหรือใช้ลูกล้อ ใช้เครื่องยนต์ 15 แรงม้า2 เครื่อง รูปร่างคล้าย พาราเพลน (PARAPLAN ) ในปัจจุบันแอนดรูว์ ครอเลย์ ( ANDREW CEOWLEY ) และจอห์น ฮาร์บอท ( JOHN HARBOT ) ซึ่งเป็นผู้ผลิตร่มได้พัฒนาแก้ไขการควบคุม และการแลนดิ้ง ทำให้ได้ร่มสำหรับร่อนหรือพาราไกลดิ้ง ( PARAGILDING ) ให้พวกเราได้ใช้ร่อนกัน จอห์น ฮาร์บอทเป็นผู้ทดลอง และเป็นครูฝึกร่มร่อนคนแรกส่วนร่มบินแบบเครื่องสะพายหลัง คนแรกที่นำเครื่องยนต์มาสะพายบินก็คือคุณ ฟิลลิป ชอกกาเก้( PHILIPPE JEORGEAGUET ) ชาวฝรั่งเศล ปี 1988 ร่มบินเป็นอากาศยานที่ปลอดภัยที่สุดในโลกขณะนี้ อีกทั้งค่าใช้จ่ายก็น้อย ค่าน้ำมันชั่วโมงละไม่ถึงร้อยบาท ตัวเครื่องพร้อมปีกก็เพียงแสนเศษๆ เท่านั้น ที่ว่าปลอดภัยเพราะปีกก็คือร่มชูชีพ เมื่อเครื่องดับก็ร่อนลงได้ปลอดภัย การควบคุมก็ง่ายเลี้ยวซ้ายก็ดึงสายข้างซ้าย เลี้ยวขวาก็ดึงข้างขวา ไต่ระดับก็เร่งเครื่องลดระดับก็เบาเครื่อง การเรียนก็ง่ายกว่าการขับเครื่องบินใช้เวลาในการฝึกเพียง 3-7 วันเท่านั้น


           พารามอเตอร์แบบสะพายหลัง ชาวยุโรปเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นมาโดยมีส่วนประกอบต่างๆ คือ ตัวปีก หรือร่มจะประกอบด้วยปีก และสายร่มซึ่งโยงมาร่วมกันที่ไรเซอร์ ( RISERS ) ตัวปีกประกอบด้วยผ้าชั้นบน และชั้นล่างทำด้วยผ้าไนร่อนริปสต๊อบ ( RIPSTOP )ชนิดไม่มีรู ผ้าชิ้นบนและชิ้นล่างถูกยึดติดกันด้วยริบ ( RIB ) โดยแบ่งออกเป็นช่องๆซึ่งเรียกว่าเซล ( CELL )ผนังของเซลจะเจาะทะลุถึงกันเพื่อให้แรงดันเท่ากันทุกช่องตัวปีกด้านข้างจะโค้งลงทำหน้าที่เป็นตัวกันโคลง (STABILIZER ) สายร่มซึ่งทำหน้าที่ ยึดระหว่างปีกกับสายไรเซอร์จะทำด้วยเส้นใยเคฟล่าร์ ( KEVLAR ) ที่ใช้ทำเสื้อเกราะแต่ละเส้นก็รับน้ำหนักได้ร่วมร้อยกิโลบางเส้นก็ 150-220 กิโล คุณมั่นใจได้แน่กับความแข็งแรงของมัน สายไรเซอร์รุ่นใหม่ๆ มีหลายเส้น ตั้งแต่ 3-5 สายสายไรเซอร์ A จะเป็นสายที่รวมสายร่ม จากชายหน้าของปีก ส่วนสายไรเซอร์ B,C,Dก็จะจัดวางถัดไป ส่วนชายหลังของปีกจะโยงไปยังสายคอนโทรลสายไรเซอร์จะถูกยึดเข้ากับโครงเครื่องยนต์หรือชุดสายรัดตัว หรือฮานเนส ( HARNESS )ด้วยคาราไบเนอร์ ( CARABINER ) ซึ่งแต่ละตัวสามารถรับน้ำหนักได้เป็นหลายร้อยกิโล ชุดเครื่องยนต์ขับเคลื่อน ตัวโครงหลักอาจทำด้วยท่อสแตนเลสหรืออลูมิเนียมเพื่อรองรับเครื่องยนต์ตลอดจนสัมภาระต่างๆส่วนตัวโครงกันใยพัดก็เช่นกันทำด้วยอลูมิเนียมเพื่อให้น้ำหนักเบา เครื่องยนต์ที่ใช้จะเป็นเครื่องยนต์ 2 จังหวะ เพราะให้แรงม้าสูงเมื่อ เทียบกับเครื่องยนต์ 4จังหวะซึ่งจะหนักกว่ากันเยอะ จากเครื่องยนต์ก็อาจจะติดตั้งใบพัดเข้าไปเลยสำหรับเครื่องยนต์ขับโดยตรง หรือถ้าใบพัดใหญ่ก็จะต่อผ่านพุลเล่( PULLEY ) ทดรอบลงส่วนถังน้ำมัน ส่วนมากแล้วจะติดตั้งไว้ข้างใต้เพื่อให้การโคลงตัวน้อย และปลอดภัยหากถังน้ำมันรั่ว ฮานเนสบางแบบก็สามารถถอดออกได้ บางแบบก็เกือบตายตัวในรูปเป็นแบบที่เกือบตายตัวถอดได้แต่ก็ยากหน่อย ตัวฮานเนสจะยึดเข้ากับโครงสร้างหลักซึ่งฮานเนสสมัยใหม่จะใช้ตัวล็อคแบบปลดเร็ว ช่วยให้การถอดและใส่รวดเร็วขึ้น



พารามอเตอร์ ร่มร่อน ร่มบิน ไทยพารามอเตอร์ paramotor จำหน่าย พารามอเตอร์ พารามอเตอร์มือสอง พารามอเตอร์ ราคา ราคาพารามอเตอร์ ขายพารามอเตอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น